วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา

   กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา
มีชื่อเรียกเป็นภาษาวิทยาศาสตร์ว่าสกุล "บัลโบฟิลลัม" (Bulbophyllum)
ซึ่งมาจากคำภาษากรีซ 2 คำ มีความหมายว่า "หัว" (หมายถึงลำลูกกล้วย) กับ "ใบ" สำหรับในภาษาไทย
ที่เรียกกันว่า "สิงห์โตกลอกตา" นั้น เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงเรียบเรียงไว้ในหนังสือ
"ตำราเล่นกล้วยไม้" เมื่อปี พ.ศ. 2459 เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของกล้วยไม้สกุลเซอร์โรเพตาลัม
 (Cirrhopetalum) ซึ่งเป็นสกุลที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสกุลบัลโบฟิลลัมมาก และในปัจจุบันนี้
นักพฤกษศาสตร์ได้จัดรวมไว้ในสกุลบัลโบฟิลลัม ดังนี้
       ลูกกล้วยรูปกลมมักเล็กขนากผลพุทรา บางชนิดเขื่องกว่านั้น แลบางชนิดใบยาวตั้งคืบก็ไ
ด้มีใบลูกกล้วยละ 1 ใบ สีเขียวแก่ด้าน ๆ ดอกลำพังตัวกลีบนอกสองข้างนั้นใหญ่ยาวเกินส่วน
รวบปลายแหลมแลพับเบื้องโคนกลีบทบไปข้างหน้า ปลายกลีบซ้อนกันฤๅมาประสานติดกัน
ทำนองห่มสะไบคล้องคอ ปากเล็กเกือบแลไม่เห็น แลรังเกสรกระดิกได้เป็นดอกไม้ไหว ซึ่งเป็นเหตุ
ให้เรียกกันในนี้ว่า "สิงห์โตกลอกตา"
สิงห์โตเหลือง (Bulbophyllum vaginatum (Lindl.) Rcgb.f.)
สิงห์โตเหลือง (Bulbophyllum
 vaginatum (Lindl.) Rcgb.f.)            
ลำลูกกล้วยทรงรูปไข่ เป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ
2 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างลำต่อลำ 3-5 เซนติเมตร
ลำลูกกล้วยมีใบเดียว ใบหนาแข็ง ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร
 กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขอบใบทั้งสองข้างเกือบขนานกัน
 ปลายใบป้านแยกเป็น 2 แฉกเล็ก ๆ ก้านใบสั้นก้านช่อยาว
ประมาณ 10 เซนติเมตร มีกาบที่ก้านช่อหลายกาบ ในช่อดอก
ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 15 ดอก เกิดเป็นกระจุก
ดอกมีสีเหลืองอ่อน ๆ กลีบนอกบนยาวประมาณ 9มิลลิเมตร
กลีบนอกคู่ล่างยาว 4-7 เซนติเมตร ขอบของกลีบนอกคู่ล่าง
เชื่อมติดกันเป็นระยะสั้น ๆ ตอนใกล้ฐานของกลีบ ปล่อยให้ปลาย
กลีบยาวเรียวคล้ายหาง 2 หาง ขอบของกลีบดอกทุกกลีบบางตอน
มีขนสั้น ๆ กลีบในยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และปากยาวประมาณ 2
มิลลิเมตร
             กล้วยไม้ชนิดนี้พบทางภาคใต้ของไทย เช่น
ที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
ดอกบานในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์
สิงห์โตพัดแดง (Bulbophyllum lepidum (BI.) J.J. Sm.)
สิงห์โตพัดแดง (Bulbophyllum lepidum
(BI.) J.J. Sm.)       
 สิงโตพัดแดงพบตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศ
เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร ชัยภูมิ จันทบุรี
สุราษฎร์ธานี ระนองและกระบี่ลำลูกกล้วยของสิงห์โตพัดแดงเป็น
รูปไข่ยาว 1.5 เซนติเมตรลำลูกกล้วยห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ใบยาว 16 เซนติเมตร กว้าง 3-6 เซนติเมตร ปลายใบป้าน ฐานใบเรียว
ก้านช่อยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มีดอก 7-10 ดอก กลีบนอกบนยาว
ประมาณ 8 มิลลิเมตร งองุ้ม สีเหลือง ขอบของกลีบนอกบนมีขนสีม่วง
กลีบนอกคู่ล่างยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4
 มิลลิเมตร ค่อย ๆ เรียวจากกลางกลีบไปหาปลายกลีบ
ซึ่งมีลักษณะป้าน ขอบบนของกลีบนอกคู่ล่างเชื่อมติดกัน
ตั้งแต่ปลายกลีบ่จนเกือบถึงฐานของกลีบ พื้นของกลีบสีครีม
อาบด้วยสีม่วงปนชมพูตั้งแต่ปลายกลีบไปหาฐานของกลีบ
กลีบในยาว 5-6 มิลลิเมตร ปลายกลีบแคบ ขอบเป็นขนสั้น ๆ
ปากสีน้ำตาลอมเขียวทึบ ๆ เส้าเกสรสีเขียวอ่อนประด้วย
จุดสีม่วง ฤดูดอกบานประมาณเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม
บัลโบฟิลลัม ลาซิโอชิลัม (Bulbophyllum lasiochilum Par. & Rchb. f.)
บัลโบฟิลลัม ลาซิโอชิลัม (Bulbophyllum
lasiochilum Par. & Rchb. f.)             
บัลโบฟิลลัม ลาซิโอชิลัม เป็นกล้วยไม้ไทยสกุล
สิงห์โตกลอกตาอีกชนิดหนึ่งที่ยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทย
 กล้วยไม้ชนิดนี้ปรากฏตามธรรมชาติอยู่ในป่าทุกภาคของไทย
 เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา กาญจนบุรี ชุมพร
นครศรีธรรมราช และระนอง ดอกจะบานในช่วงเดือนตุลาคม
ถึงธันวาคมก้านช่อยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ที่ก้านช่อมี
จุดสีม่วงกระจายก้านช่อก้านหนึ่ง ๆ มีดอกเพียงดอกเดียว
กลีบบนสีม่วง ตั้งตรง ยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร
กว้าง 0.6 เซนติเมตร ขอบของกลีบนอกบนไม่มีขนกลีบนอก
คู่ล่างยาว 2.5 เซนติเมตร ขอบบนของกลีบนอกคู่ล่าง
ทั้งสองกลีบบิดเข้าหากัน กลีบนอกคู่ล่างสีเหลือง ประด้วยจุด
สีแดงเลือดนกขนาดใหญ่ กลีบในมีลักษณะคล้าย ๆ กับกลีบ
นอกบนทั้งขนาดและสี ปากยาว 1 เซนติเมตร สีม่วง ฐานของ
ปากกว้าง ที่ขอบปากมีเส้นสีม่วงยาว ๆ
บัลโบฟิลลัม ไลลาซิมัน (Bulbophyllum lilacinum Ridl.)
บัลโบฟิลลัม ไลลาซิมัน (Bulbophyllum
lilacinum Ridl.)              
บัลโบฟิลลัม ไลลาซิมัน เป็นกล้วยไม้ไทยสกุลสิงห์โต
กลอกตาที่ยังไม่มีชื่อในภาษาไทย พบอยู่ทางภาคใต้ของไทย
 เช่น ที่จังหวัดพังงา เหง้ามีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4
มิลลิเมตร ลำลูกกล้วยอาจยาวถึง 6 เซนติเมตร รูปร่างค่อนข้าง
เป็นรูปไข่เรียว ๆ เกือบเป็นสี่เหลี่ยม ผิวเรียบ ลำลูกกล้วยห่าง
กันประมาณ 12 เซนติเมตร ใบอาจยาวถึง 27 เซนติเมตร
กว้าง 3.5 เซนติเมตร ขอบใบทั้งสองข้างขนานกัน
ปลายใบป้านค่อนข้างแหลม ฐานใบแคบก้านใบสั้น ลำลูกกล้วย
มีใบหนึ่งใบก้านช่อยาว 5-10 เซนติเมตร มีกาบก้านช่อขนาด
ใหญ่ 2-3 กาบ แกนช่อดอกอาจยาวถึง 15 เซนติเมตร ลักษณะห้อย
ลง มีดอกหลายดอกเรียงซ้อนกันแนบติดไปกับแกนช่อดอก
ลีบดอกไม่บานเต็มที่ กลีบนอกและกลีบในสีม่วงอ่อน ๆ
เกือบขาวมีจุดสีม่วงกระจาย ปากสีเหลืองจัด มีประจุด
หรือลายเส้นสีชมพูจาง ๆ กลีบนอกบนยาว 5.5 เซนติเมตร
กว้าง 3 มิลลิเมตร โค้งคลุมเกสร กลีบนอกคู่ล่างขนานกัน
มีความยาว 0.9-1.1 เซนติเมตร กว้าง 0.45 เซนติเมตร
ขอบในของกลีบนอกคู่ล่างทั้งสองกลีบเชื่อมติดกันเป็นช่วงสั้น ๆ
 ที่ฐานของกลีบ ขอบนอกของกลีบนอกคู่ล่างมีไฝและลายเส้นเล็ก
 ๆ ยอกนูนขึ้น กลีบนอกทุกกลีบโค้งตรงบริเวณใกล้ฐานของกลีบ
เส้าเกสรมีปีกแหลมสั้น ๆ ยกตั้งตรงบัลโบฟิลลัม ไลลาซิมัน
จะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
สิงห์โตก้ามปูแดง (Bulbophyllum patens King ex. Hook. f.)
สิงห์โตก้ามปูแดง (Bulbophyllum patens
 King ex. Hook. f.)               
สิงห์โตก้ามปูแดงเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะแปลก
อย่างหนึ่ง คือเมื่อดอกบาน ดอกมักจะกลับเอาหัวลง
สิงห์โตก้ามปูแดงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าทางภาคใต้ของไทย
 เช่น ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส ปัตตานี
ฤดูดอกบาน ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
เหง้าของสิงห์โตก้านปูแดงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5
มิลลิเมตร กาบที่เหง้าแลเห็นได้ชัด ลำลูกกล้วยยาว 0.6-2.5
เซนติเมตร ลำลูกกล้วยแต่ละลำห่างกันประมาณ 8 เซนติเมตร
หรือต่ำกว่านั้น ลำลูกกล้วย 1 ลำมีใบ 1 ใบ ใบมีขนาดยาว
ประมาณ 14 เซนติเมตร กว้าง 4.5 เซนติเมตรเมื่อเวลาดอกบาน
 กลีบดอกจะบานผึ่งเต็มที่ พื้นดอกเป็นสีเหลืองจาง ๆ มีจุดเล็ก ๆ
สีม่วงกระจายอย่างหนาแน่นทั่วทั้งดอก จึงดูคล้ายกับว่า
ดอกมีสีแดงคล้ำ กลีบนอกบนยาวประมาณ 2.2 เซนติเมตร
กว้าง 0.6 เซนติเมตร กลีบนอกคู่ล่างกว้างกว่ากลีบนอกบน
ปากสดใส ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีจุดเล็กละเอียดสีม่วง
กระจาย ก้านดอกรวมทั้งรังไข่ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น